วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สายพันธุ์หญ้า

1. หญ้าเเพรก

ลักษณะของหญ้าแพรก

  • ต้นหญ้าแพรก มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียและยุโรป เจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและอากาศอบอุ่น โดยจัดเป็นพรรณไม้จำพวกหญ้า ต้นมีขนาดเล็ก มีอายุได้หลายปี ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาปกคลุมดิน เจริญเติบโตแบบแผ่ราบไปตามพื้นดินหรือเลื้อยปกคลุมดินไปได้ยาวประมาณ 1 เมตร และลำต้นชูตั้งขึ้นสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อและมีรากงอกออกมา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด กิ่ง ราก และแตกลำต้นไปตามพื้นดิน เจริญเติบเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ต้องการความชื้นในปริมาณค่อนข้างมาก หญ้าชนิดนี้มักพบขึ้นเองตามพื้นที่แห้งแล้ง ที่ว่างริมถนน หรือในบริเวณสนามหญ้า ทนน้ำท่วมทังและสามารถขึ้นได้ในดินเค็ม ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 40-400 เมตร

  • ใบหญ้าแพรก ใบจะออกเป็นกระจุกตามข้อของลำต้น โดยจะออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปเส้นยาวหรือรูปใบหอกเรียว ปลายใบแหลมยาว โคนใบมีขนสั้นๆ สีขาวก่อนถึงส่วนที่หุ้มรอบข้อ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1-6 เซนติเมตร

  • ดอกหญ้าแพรก ออกดอกเป็นช่อกระจะ ในช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 3-6 ช่อย่อย ก้านช่อดอกร่วมยาวได้ประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยมีลักษณะเป็นเส้นสีเขียวเทาถึงสีม่วง ยาวได้ประมาณ 2-5 เซนติเมตร มีดอกย่อยเรียงกันเป็นแถว 2 แถว ดอกย่อยมีขนาดยาวประมาณ 1.5-3 มิลลิเมตร อัดกันแน่นอยู่บนด้านหนึ่งของก้านดอกย่อย ดอกมีเกสรเพศผู้ 3 อัน มีอับเรณูสีม่วงยาว 1.1-5 มิลลิเมตร ส่วนรังไข่มีก้านเกสรเพศเมีย 2 เส้น ส่วนปลายเป็นฝอยลักษณะคล้ายขนนก สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี


  • ผลหญ้าแพรก เมื่อดอกร่วงจะติดผล ผลหรือเมล็ดจะมีขนาดเล็กมาก ยาวได้ประมาณ 11.5 มิลลิเมตร มีลักษณะเป็นรูปไข่ สีน้ำตาลไปจนสีแดง

เนื่องจากหญ้าแพรกเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ในส่วนของวิธีการป้องกันและกำจัดนั้นก็ทำได้หลายวิธี เช่น การไถดะเพื่อกลมทำลาย ถ้ายังขึ้นมาได้อีกก็อาจจะต้องไถซ้ำ หากยังมีหลงเหลืออยู่ก็ให้เก็บทำลายไหลและลำต้นให้หมดในขณะที่คราดทำเทือก หรือใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้ เป็นต้น








2. หญ้านวลน้อย

หญ้านวลน้อย เป็นหญ้าพื้นเมืองของไทย เป็นหญ้า ที่นิยมปลูกกันมาก สามารถขึ้นได้ดีในดิน เกือบทุก ชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว หรือดินปนทราย และยัง ปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ดีได้ง่าย นอกจากนี้ ยังทนต่อร้อนและแห้งแล้ง หรือที่น้ำท่วมขังแฉะ ได้เป็นครั้งคราว จึงนิยมปลูกกันมากเป็นหญ้าที่จัดอยู่ในประเภทใกล้เคียงกับหญ้าญี่ปุ่น แต่มีใบกว้างกว่า และการเจริญเติบโตเร็วกว่า ใบไม่แข็งกระด้าง เหมือนหญ้าญี่ปุ่น หญ้าชนิดนี้ ขึ้นง่าย และเจริญเติบโต เป็นแผ่นได้เร็วพอสมควร แต่ช่อดอกค่อนข้างยาว และเห็นได้ชัด ซึ่งจะขอกล่าวถึง ลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ลำต้น จะตั้งและแข็งแรง มีลำต้นใต้ดินมาก ปลูกง่ายแตกกอได้เร็ว มีปล้องสั้น และลำต้นยืดหยุ่นตัวดี
2. ใบ มีขนาดปานกลาง สีเขียวอ่อน ใบจะยืดหยุ่นตัวดีเช่นกันในเวลาที่เหยียบย่ำ แวลาเดินแล้วจะนุ่มเท้า ขึ้นคลุมดินได้แน่นดี ใบนุ่มกว่าหญ้าญี่ปุ่น และไม่ระคายผิวหนัง เมื่อตัดเรียบร้อยแล้วดูกล้ายพรม
3. ช่อดอก ค่อนข้างยาว และดอกมีสีน้ำตาลดำเห็นได้ชัดในเวลาออกดอก
หญ้านวลน้อยนี้ ชอบขึ้นในที่กลางแจ้ง แต่ในที่ร่มมีแดดพอเพียงก็สามารถขึ้นได้ ถ้าไม่ตัดหญ้านี้เลยจะสูงประมาณ 6 นิ้ว เป็นหญ้าที่ทนต่อ การเหยียบย่ำ ทนต่อความแห้งแล้งหรือน้ำขังแฉะเป็นครั้งคราว ตลอดจนทนต่ออุณภูมิสูงได้ดี แต่ในฤดูแล้งต้อง หมั่นรดน้ำ อยู่เสมอมิฉะนั้นใบจะเหลืองแต่ไม่ถึงตาย นอกจากนี้ทนต่อดินเค็มได้บ้าง รวมทั้งยังต้านทานต่อโรงแมลงได้ดี
ใช้ทำสนามหญ้าทั่วไป เช่น สนามกีฬา สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ สถานที่ราชการ สวนหย่อมในบริเวณบ้าน โรงแรม สวนอาหาร บริษัทร้านห้างใหญ่ ๆ ในสนามกอล์ฟ ใช้ทำกรีน (Green) ซึ่งเป็นที่ตีลูกกอล์ฟลงหลุม ใช้ทำบริเวณ (Tee) ซึ่งเป็นที่เริ่มต้นตีกอร์ฟ ตลอดจนปลูกบนทางตีกอล์ฟ(Fair Wap) นอกจากนี้ยังใช้ในการจัดสวนทั่ว ๆ ไป เพราะเป็นหญ้าที่ทนการเหยียบย่ำ รวมทั้งเป็นหญ้าที่ดูแลรักษาง่าย กว่าหญ้าชนิดอื่น ๆ ถึงแม้จะปล่อยปละ ละเลยไปบ้าง เมื่อกลับมาดูแลรักษาใหม่ ก็ยังจะได้สนามหญ้าที่มีคุณภาพดีเหมือนกัน

การตัดหญ้า
ควรตัดในระยะ 0.75 - 1.5 นิ้ว โดยตัดทุก ๆ 1 - 2 สัปดาห์ เพราะด้วยเหตุที่ว่า หญ้านี้จะมีช่อค่อนข้างยาว ดอกมีสีน้ำตาลออกดก จึงทำให้สนามหญ้าไม่สวยในเวลาออกดอก จำเป็นต้องคอยระวังกำจัดช่อดอกให้หมด ในช่วงฤดูกาลออกดอก เครื่องตัดหญ้าทั่ว ๆ ไปก็ใช้ได้ แม้กระทั่งกรรไกร หรือรถเข็นหญ้าก็ได้

การขยายพันธุ์
ใช้ลำต้นปลูก เพราะขยายพันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นหญ้าที่มีเมล็ดน้อย จึงไม่มีผู้ผลิตเมล็ดจำหน่าย
ข้อดี เป็นหญ้าที่ปลูกใช้ประโยชน์ได้ทั่วไป ใบมีขนาดกลางและนุ่มเท้า ทนต่อการเหยียบย่ำ ทนแล้ง และทนร่มบ้าง การดูแลรักษาก็ง่ายกว่าหญ้าชนิดอื่น ๆ
ข้อจำกัด ถ้าปล่อยให้หญ้าออกดอก ดอกของหญ้าเมื่อแก่จะเป็นสีดำ ดูแล้วสนามไม่สวย ถ้าปลูกในที่ร่มเงามากเกินไปจะไม่ได้ผล เพราะต้นหญ้าจะยาวมากข้อแนะนำ ควรตัดหญ้าตามกำหนด ไม่ควรปล่อยให้มีดอก



3. หญ้าเซนต์ออกัสติน

เป็นหญ้าพื้นเมืองของ หมู่เกาะอินเดียตะวันตก ขึ้นได้ดีในเขตร้อนชื้น ชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความชื้นสูง สามารถปลูกได้ทั่ว ๆ ไป ตั้งแต่ดินทราย จนถึงดินที่มีความเค็มไม่มากนัก

ลักษณะทั่วไป
ลำต้น จะแบนและแข็ง มีทั้งลำตั้นบนดิน และลำต้นใต้ดินในการเจริญเติบโต
ใบ แบนมีสีเขียวเข้ม จนถึงสีตองอ่อน ใบกว้างเกือบเท่าหญ้ามาเลเชีย ขอบใบตรงใบยาวประมาณ 6 นิ้ว ปลายใบมนเป็นบุ๋ม มีผิวสัมผัสละเอียด แต่จะแข็งกว่าหญ้ามาเลเชียนิดหน่อย
ดอก จะมีช่อสั้น ดอกย่อยจะมีลักษณะคล้ายดอกบัว
คุณสมบัติที่เด่นคือ สามารถทนต่อความเค็มหรือไอเกลือในบริเวณชายฝั่งทะเลได้ดี สามารถปลูกได้ในที่กลางแจ้ง และที่มีร่มเงารำไรได้ เหมือนหญ้ามาเลเชีย

คุณสมบัติที่เด่นคือ สามารถทนต่อความเค็มหรือไอเกลือในบริเวณชายฝั่งทะเลได้ดี สามารถปลูกได้ในที่กลางแจ้ง และที่มีร่มเงารำไรได้ เหมือนหญ้ามาเลเชียไม่ทนต่อการเหยียบย่ำ แต่มีอัตราการฟื้นตัวสูง ไม่ทนต่อความแห้งแล้ง ดังนั้นจึงต้องการความชื้นสูง ถ้าความชื้นในดินไม่เพียงพอก็จะเหี่ยวในฤดูแล้ง ถ้าไม่รดน้ำสม่ำเสมอ ขอบใบจะไหม้และจะตายได้

หญ้าเซนต์ออกัสตีนที่ปลูกใหม่ ๆ ควรระวังดังต่อไปนี้
1. ต้องรดน้ำให้ชุ่มชื้นพอเหมาะ ถ้าน้ำขังแฉะจะตายง่าย
2. ต้องหลีกเลี่ยงการเหยียบย่ำ จนกว่าหญ้าจะตั้งตัวได้
3. ให้ทำการปลูกซ่อมทันที ในบริเวณที่หญ้าตาย หรือหญ้าที่ขึ้นบาง ๆ เพราะหญ้าที่ปลูกซ่อมจะเจริญเติบโตทันกัน และประสานสนิทเป็นพื้นเดียวกัน
4. ใช้ลูกกลิ้ง กลิ้งทับสนามหลังจากหญ้าตั้งตัวได้แล้ว เพื่อให้หญ้าเกาะดินได้ดี

ประโยชน์
เหมาะสำหรับปลูกในสวนหย่อม โดยเฉพาะที่ร่มรำไร บริเวณชายคาบ้าน และบนทางเท้า ที่อยู่ในบริเวณร่มเงา ชอบดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.5 - 7.5 นอกจากนี้ ยังใช้ปลูกใต้ร่มเงาของต้นมะพร้าวริมทะเล

การตัดหญ้า
ควรตัดหญ้านี้ในระยะ 1 - 2 นิ้ว ตัดทุก ๆ 10 -15 วัน การตัดบ่อยครั้งจะช่วยให้หญ้าแน่นใบไม่กระด้าง และใช้เครื่องตัดแบบเดียวกับหญ้ามาเลเชีย ในฤดูฝน ควรตัดบ่อยครั้งขึ้น และควรตัดให้สั้นกว่า 1 นิ้ว จะทำให้วัชพืชแทรกขึ้นมาได้

การขยายพันธ์
ใช้ต้นขยายพันธุ์ โดยการปลูกเป็นกระจุก ส่วนการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดไม่เหมาะสม เพราะเมล็ดไม่ค่อยสมบูรณ์ มีเปอร์เซนต์ความงอกต่ำ

ข้อดี เป็นหญ้าที่เหมาะสำหรับในที่ร่มรำไร และบริเวณดินเค็ม โดยเฉพาะตามชายฝั่งทะเลและที่ใกล้เคียง

ข้อจำกัด ไม่ทนต่อการเหยี่ยบย่ำ และมีแมลงบางชนิดชอบกัดกินใบหญ้าชนิดนี้ ยังไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด เคยทดลองปลูกที่วิทยาลัยเกษตรกรรมบางประจำ จ.ชลบุรี
ข้อแนะนำ เหมาะสำหรับปลูกในบริเวณชายทะเล



4.หญ้ามาเลเชีย 



หญ้ามาเลเชีย มีด้วยกัน 2 ชนิด
1. Common Carpet Grass
เป็นหญ้าดั้งเดิมของอเมริกา ในแถบร้อน ซึ่งก็ปลูกกันทั่ว ๆ ไปในเขตร้อน และร้อนชื้น ใบกว้างประมาณ 2 - 6 มิลลิเมตร มีจำกัด คือ ช่อดอกย่อย จะมีลักษณะรูปไข่ปลาย จะแหลม
2. Tropical Carpet Crass

เป็นหญ้าที่ขึ้นอยู่ในแถบอเมริกากลาง อเมริกาตอนใต้ แถวเม็กซิโก บราซิล และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก แล้วนำมาปลูกในเขตร้อน ทนต่อ อุณหภูมิต่ำสู้ไม่ได้ แต่ก็ สามารถปรับตัวได้ดีในดินที่แห้งแล้ง มีใบกว้างประมาณ 2.0 - 2.5 มิลลิเมตร ใบมีขน ช่อดอกย่อย จะเป็นรูปไข่และแหลม หญ้ามาเลเชียชนิดนี้ นิยมปลูกในประเทศไทย

สำหรับในเมืองไทยปลูกกันมานานแล้วในสวนยางพาราภาคใต้ ติดกับประเทศมาเลเชีย ซึ่งเราเรียกกันว่า หญ้าเห็บ และในบางท้องที่ก็เรียกว่า หญ้าไผ่ แต่เมื่อก่อน จะมีการปลูกขาย ก็ได้ตั้งชื่อเสียใหม่ว่า หญ้ามาเลเชีย จนติดปากกัน มาถึงทุกวันนี้ ซึ่งก็คิดว่าผู้ที่ปลูกขาย คงต้องการให้เห็นว่า มาจากเมืองนอก เพื่อให้ถูกใจคนไทย ที่นิยมของเมืองนอก เพื่อให้ขายได้ง่ายและได้ราคาสูง ซึ่งก็เป็นจริงตามที่คิดไว้
ลักษณะของหญ้ามาเลเชีย
·         ลำต้น จะแบนและมีลำต้นบนดินแตกออกทั้ง 2 ข้างของลำต้น ลำต้นบนดินไม่ยาวนัก รากจะแตกออกจากข้อของลำต้นบนดิน ที่เรียกว่า ไหล เมื่อไหลนี้สัมผัสกับดินรากและลำต้นใหม่ก็จะแตกออกจากข้อของไหล แล้วเจริญเติบโตแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว
·         ใบ ใหญ่กว่าใบหญ้าทุกชนิด ใบมีสีเขียวอ่อน มีรากตื้น ตัวใบแบน ตรงกลางใบจะหักพับคล้ายหลังคาบ้าน ขอบใบมีขน ตั้งแต่ข้อต่อระหว่างตัวใบกับก้านใบจนถึง ยอดของใบในใบแก่จะมีขนเห็นได้ชัดเจนกว่าใบอ่อน และใบอ่อนจะเห็นเป็น คลื่นมากกว่าใบแก่ ขนที่ใบจะอยู่ด้านหน้าใบ ส่วนทางหลังใบจะเป็นมันไม่มีขน เส้นกลางใบทางด้านหลังจะนูนเด่นชัดเจน ยอดใบแหลมมน
·         ดอก ช่อดอกเกิดจากปล่องสุดท้ายของลำต้น มี 3 - 5 ช่อ ดอกย่อยเป็นรูปไข่แหลม ยาวประมาณ 2.0 - 2.5 ซม.

ในดินที่มีความ อุดมสมบูรณ์ปานกลางก็สามารถขึ้นได้ดี และสามารถขึ้นได้ดีในสถานที่ที่มีแสงน้อยหรือร่มรำไร เช่น บริเวณชายคาบ้าน และอาคาร หรือใต้ต้นไม้ ที่มีแดดรำไร ไม่ชอบที่น้ำขังแฉะ ถ้าน้ำขังแฉะต้นจะแคระแกร็น ใบจะเหลืองและตายได้ การเจริญเติบโตได้ดี และมีรากแน่น ถ้าปลูกในที่มีแสงน้อย ถ้าปลูกในที่มีแสงแจ้งมีแดดจัด จะทำให้ต้นแคระ ข้อปล้องจะสั้นมีสีแดง ส่วนใบก็จะเล็กลงและมีสีแดงด้วย

หญ้านี้มีความต้องการน้ำมาก ซึ่งก็เนื่องจากมีใบใหญ่ จึงมีการคายน้ำมาก ในฤดูแล้ง ถ้าหากขาดน้ำไใบจะเหลือง และชงักการเจริญ เติบโต และไม่ทนต่อการเหยียบย่ำ

หญ้ามาเลเชียนี้ไม่ต้องการการเอาใจใส่มากนัก และไม่ต้องตัดบ่อย ๆ เหมือนหญ้าอื่น ๆ นิยมใช้เป็นหญ้าคลุมหญ้า คลุมวัชพืชใน สวนยาง สวนผลไม้ทางภาคใต้ เพราะขึ้นได้แน่นดี วัชพืชอื่น ๆ ไม่มีโอกาสขึ้นแซมได้
ประโยชน์
หญ้ามาเลเชียเป็นหญ้าที่ใช้ทำ สนามหญ้า และจัดสวนหย่อม เช่นเดียวกับ หญ้าชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะในที่ร่มร่ำไร สามารถเจริญ เติบโต ได้ดีในที่มี ความอุดม สมบูรณ์ต่ำ ไม่ทนต่อดินเค็ม หญ้ามาเลเชียที่ใช้ปลูกโดยเมล็ด จะสามารถ ป้องกัน การพังทะลายของดิน ในที่มีความลาดชันสูงได้ดีเช่นกัน ทนต่อดินเป็นกรดที่มี pH ประมาณ 4.5 - 5.5 เป็นหญ้าที่ชอบความชื้นสูง ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด
การตัดหญ้า
ควรตัดในระยะ 1 - 2 นิ้ว โดยตัดทุก ๆ 10 - 15 วัน เครื่องตัดหญ้า สามารถใช้ได้ทุกชนิด รวมทั้งกรรไกร ก็ตัดได้ไม่กินแรง มากนักเหมือนกับหญ้าญี่ปุ่น
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์ได้ดีและเร็วในฤดูฝน มีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และการใช้ส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะลำต้นเป็นกระจุก แบบปูเป็นแผ่น การปลูกด้วยเมล็ด จะลงทุนน้อย โดยการใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตรา 3 - 4 ปอนด์ ต่อเนื้อที่ 1,000 ตารางฟุต


ข้อดี เป็นหญ้าที่เหมาะสำหรับปลูกในที่ร่มร่ำไร หรือมีแสงน้อยได้ดี ต้องการการดูแลรักษาต่ำ

ข้อจำกัด ถ้าปลูกในดินที่มีสภาพเหมาะสมสามารถเจริญเติบโตได้เร็วมาก ใบและกิ่งก้านจะหนาอวบใหญ่ เมื่อตัดต้นหญ้าแล้ว จะเป็นเสี้ยนดูไม่สวยงาม เมื่อปลูกรวมกับหญ้าชนิดอื่น ก็จะลามเข้าไปทับหญ้าชนิดอื่นตายได้ เป็นหญ้าที่ต้องการน้ำมาก และต้องมีความชื่นสม่ำเสมอ ถ้าปลูกในที่กลางแจ้ง ก็ปลูกได้ แต่ต้องให้น้ำมากกว่าปกติ และใช้เป็นหญ้าที่เหยียบย่ำมากไม่ได้ เพราะเมื่อเหยียบย่ำมาก ๆ ก็ฟื้นตัวช้า






5.หญ้านวลจันทร์

หญ้านวลจันทร์ มีอีกชื่อว่าหญ้า "หญ้าไผ่แดง" เพราะมีลักษณะคล้ายใบใผ่ที่ย่อให้เล็กลงมา เป็นหญ้าของเมืองไทย นิยมทำเป็นสนามหญ้าในบ้าน และสนามกีฬา การดูแลรักษาต่ำ การเจริญเติบโตเร็วมาก และสามารถกลายเป็นวัชพืชได้ง่าย ถ้าปลูกรวมกับหญ้าชนิดอื่น ๆ มีความต้องการปุ๋ยไม่มากนัก ถ้าปลูกในพื้นที่แห้งแล้งก็สามารถทนได้ โดยเฉพาะถ้ามีไนโตรเจนน้อย ดอกก็จะออกมามากใบจะเป็นสีแดงในฤดูแล้ง และเป็นสีเขียวในฤดูฝน
หญ้านี้ เหมาะในการปลูกในเขตอบอุ่น และขึ้นได้ในดินทั่ว ๆ ไป แต่ดินที่เหมาะควรเป็นดินร่วนปนทราย มี pH ประมาณ 6 - 7 นอกจากนี้ยังสามารถทนต่อดินเค็มได้
ลักษณะทั่วไปของหญ้านวลจันทร์
  • ลำต้น มีขนาดปานกลาง มีการเจริญเติบโตทางลำต้นบนดินมากกว่าทางลำต้นใต้ดิน
  • ใบบางสีเขียวอ่อน มีใบขนาดปานกลาง และคล้ายใบใผ่ เส้นกลางใบแคบสีเขียวอ่อน เห็นเส้นกลางใบชัด ใบนิ่มเมื่อสัมผัส ปลายใบแหลม
  • ดอก มีช่อสีน้ำตาลยาวประมาณ 3 - 7 ซม. เห็นชัด ดอกเป็นสีน้ำตาล เมื่อดอกแก่จะกระจายตามลม และติดกับเสื้อผ้าได้ง่าย
หญ้านี้ชอบแสงแดดเต็มที่ ถ้าปลูกไว้ในที่แห้งแล้งไม่มีน้ำ ลำต้นและใบจะเป็นสีแดง การออกดอก การออกดอกจะมาก และดอกสีจะดำ ปกคลุ่มเต็มสนาม ถ้าปลูกหญ้าชนิดอื่น ๆ ไว้กับหญ้านวลจันทร์แล้ว จะประสบปัญหาคือ หญ้านวลจันทร์ จะไปขึ้นแซมและ ปกคลุมหญ้าอื่นเสียหายได้ จึงต้องควรระวังในข้อนี้ ไม่เหมาะสำหรับปลูกในที่ร่ม จะทำให้การเจริญเติบโตไม่ดี
ทนทานต่อความ แห้งแล้งได้ดี และยังทนทานต่อการเหยียบย่ำ และฟื้นตัวเร็ว
ถ้าปล่อยไว้ไม่มีการตัดหญ้านี้จะสูงขึ้นในแนวตั้ง และแตกแขนงซึ่งจะมีลำต้นสูงถึงประมาณ 15 - 30 ซม.ได้
ประโยชน์ของหญ้านวลจันทร์
ผู้ปลูกทั่วไปมักไม่ค่อยนิยมปลูกหญ้าชนิดนี้ เพราะมีดอกและช่อดอกสีน้ำตาลเข้ม มองดูไม่สวยงาม และเจริญเติบโตได้เร็ว จึงกลายเป็นวัชพืชง่าย เมื่อปลูกรวมกับหญ้าอื่น ๆ แต่หญ้านวลจันทร์นี้เหมาะสำหรับปลูกในสนามที่ไม่ต้องการการดูแลรักษามาก และบริเวณสนามที่มีบริเวณกว้างมาก ถ้าปลูกหญ้าชนิดอื่นจะลงทุนสูง จึงเหมาะสำหรับสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ ที่มีการดูแลรัดษาต่ำ และยังเหมาะสำหรับการปลูกคลุมผิวดิน ตามไหลถนนต่าง ๆ และสนามกีฬา
การตัดหญ้า
การตัดหญ้าควรตัดประมาณ 1.0 - 1.5 นิ้ว และตัดทุก ๆ 1 - 2 อาทิตย์ โดยเฉพาะช่วงฤดูการออกดอกหรือเมื่อมีอากาศแห้งแล้งหรือขาดน้ำ ต้องตัดในช่วงนี้บ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ออกดอก และปลิวกระจายไปปะปนหับหญ้าอื่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
การขยายพันธุ์
หญ้านวลจันทร์นี้มีใบหยาบกว่าหญ้านวลน้อย และสีของใบอ่อนกว่า นิยมใช้ทำสวนใหญ่ ๆ เช่นสนามฟุตบอล รักบี้ เป็นหญ้าที่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว โดยเฉพาะฤดูฝนหาได้ง่าย และมีอยู่ทั่ว ๆ ไป ถ้าไม่ได้รับน้ำไม่เพียงพอใบและต้นจะมีสีแดง การขยายพันธุ์ โดยการเก็บเมล็ดไปปลูกได้ หรือแซะต้นไปปลูกเป็นจุกไม่มีขายในท้องตลาด แต่สามารถหาได้ง่ายตามริมถนน
ข้อดี
ปลูกง่าย ดูแลรักษาน้อย เจริญเติบโตได้ดี คลุมผิวดินได้ดี
ข้อจำกัด
ออกดอกสีน้ำตาลเข้มทำให้สนามดูไม่สวย เวลาแห้งหรือมีน้ำไม่เพียงพอ ลำต้นและขอบใบจะเป็นสีแดง การขยายพันธ์ด้วยเมล็ดจะเร็ว เพราะสามารถปลิว ไปตามลม และติดไปกับเสื้อได้ จึงกลายเป็นวัชพืชได้ในที่สุด
ข้อแนะนำ
ถ้าเป็นสถานที่กว้าง ๆ และมาก ๆ ให้ปลูกหญ้านวลจันทร์เพียงชนิดเดียว มิฉะนั้นแล้วหญ้านวนจันทร์ก็อาจจะแพร่กระจายไปรบกวน


6. หญ้าขน

หญ้า ขน เป็นหญ้าค้างปี ซึ่งปลูกครั้งเดียวก็สามารถอยู่ได้หลายปี มีการเจริญเติบโตเป็นกอ โดนที่ยอดอ่อนจะโตออกมาเป็นวงรัศมีพระอาทิตย์ ยอดที่สมบูรณ์ที่สุดจะสูงที่สุด และอวบ มีลักษณะเป็นปล้อง


ลักษณะทั่วไป :

เป็น หญ้าสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก มีอายุหลายปี ชอบขึ้นตามดินแฉะ หรือชายตลิ่งแล้วเจริญงอกงามแผ่ลงน้ำ มีไหลเลื้อยทอดไปตามดินหรือน้ำ มีขนขาวยาวฟูตามใบ กาบใบและข้อเห็นได้ชัด ใบรูปหอกปลายแหลม ยาว 10-20 ซม. กว้าง 1-2 ซม. ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีก้านช่อดอกยาว ช่อดอกย่อยมี 10-20 ช่อ สีเขียวคล้ำปนดำ ดอกพองเนื่องจากติดเมล็ดได้ดี


ลักษณะกอของหญ้าขน (ที่เป็นที่สงสัยกัน):

กอ หญ้าขน จะแตกต่างกันไปตามแต่ลักษณะของพื้นที่ที่หญ้าขนขึ้นอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ที่ดินอุดมสมบูรณ์และโล่งกว้าง หญ้าขนจะเติบโตในลักษณะเลื้อยไปกับพื้น ปล้องที่สมบูรณ์มากๆ จะอวบ และฉ่ำน้ำ สีของปล้องอาจจะกลายเป็นสีเขียวอมม่วงๆ (อั๊ย...น่ากิน ยัยหมวยเล็กชอบกินแบบนี้มากๆ เลย)

สำหรับพื้นที่ที่ไม่กว้างนัก และหญ้าขนขึ้นแออัด ลักษณะของยอดจะตั้งตรง ทำให้เห็นเป็นทุ่งหญ้าค่ะ

วิธีการปลูกหญ้าขน:

หญ้า ขน สามารถปลูกได้โดยการใช้ส่วนของลำต้นที่แก่แล้ว หว่านลงบนดินที่ไถพรวนไว้ จากนั้นก็พรวนกลบ ภายหลังจากปลูก ควรปล่อยให้หญ้าขนตั้งตัวประมาณ 80 - 90 วัน จึงจะนำมาใช้

การตัดหญ้าขน:
ไม่ควรตัดจนถึงโคน เพราะจะทำให้ยอดใหม่ไม่สามารถงอกขึ้นมาได้ ยอดอ่อนใหม่ จะงอกภายใน 2 - 3 วัน หลังจากยอดเก่าถูกตัดไป

วิธีการเลือกหญ้าขน:
หาก ค้นพบแหล่งแล้ว ก็ถึงขั้นตอนเก็บมาให้ลูกๆ ได้ลิ้มรสกันล่ะ ให้เลือกปล้องที่อวบๆ มีสีเขียวสดนะคะ วิธีที่ใช้อยู่ก็คือ ตัดด้วยกรรไกรหรือใช้มือเด็ด

การเก็บรักษาหญ้าขน:
ที่นิยมกันก็คือ แช่ไว้ในตู้เย็นสามารถอยู่ได้ถึง 2-3 สัปดาห์เลยทีเดียว (ห้ามล้างก่อนแช่นะ) และนำมาทำเป็นหญ้าแห้ง

การทำหญ้าขนแห้ง:
นำ หญ้าขนไปตากแดดให้แห้งสนิท แล้วเก็บไว้ในที่แห้งเหมือนกับการเก็บรักษาหญ้าแห้งทั่วไป แนะนำว่า ช่วงฤดูฝนแบบนี้ที่มีหญ้าขนขึ้นมากๆ ควรกักตุนหญ้าขนไว้นะคะ  เพราะช่วงฤดูหนาว หญ้าขนจะหายากมากๆ


7.หญ้าญี่ปุ่น



หญ้าญี่ปุ่นนี้ มีถิ่นกำเนิดในแถบแมนจูเรีย ซึ่งบางที่ก็เรียก Kerean Lawngrass เนื่องจากมีการนำเมล็ด เข้าไปในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2473 แต่ภายหลังนิยม เรียกกันว่า japanese Lawngrass มากกว่า ซึ่งก็คงเนื่องจากอิทธิพล ของการจัดสวนญี่ปุ่น ที่ใช้หญ้าชนิดนี้ เป็นส่วนประกอบใหญ่ ก็เลยเรียกว่า หญ้าญี่ปุ่น ติดปากกันมาทุกวันนี้

เป็นหญ้าที่เจริญเติบโต ได้ดีในเขตร้อน แต่สามารถเจริญเติบโตได้ในเขตหนาว และแห้งแล้ง ซึ่งมีการเจริญ เติบโตดีพอสมควร แต่ปลูกในที่ชื่น หรือที่เฉาะไม่ดีนัก กล่าวคือ สามารถทนร่มได้ 50 % ในดินเค็มก็พอจะ ปลูกได้แต่ก็ไม่ดีนัก ดินที่เหมาะสมกับหญ้านี้ ควรมีความเป็นกรดเป็นด่าง pH ประมาณ      6 - 7 และ หญ้าก็ยัง ชอบขึ้นในดินเหนียวด้วย

หญ้าญี่ปุ่น มี 2 ชนิด
1. ชนิดใบกว้าง จะมีใบประมาณ 4 มิลลิเมตร
2. ชนิดใบกลม ใบเล็กและละเอียดกว่า ซึ่งเป็นที่นิยมปลูกในประเทศไทยมาก
ลักษณะของหญ้าญี่ปุ่น
ลำต้น เป็นพวกเลื้อยตามดิน และลำต้นจะตั้งแข็งทั้งลำต้นบนดิน และลำต้นใต้ดิน

ใบ ใบสีเขียวเข้ม ใบเล็กละเอียดกลมแข็ง ปลายใบแข็งและแข็งกระด้างเวลาสัมผัสจะระคายผิวหนัง ขอบใบเรียบไม่มีขน



ดอก ช่อดอกสั้น ดอกเล็ก และมีสีน้ำตาลออกดำ ดอกจะรวมกันแน่นบนก้านดอก ดอกจะบานจากส่วนล่างขึ้นบน


หญ้าญี่ปุ่นนี้ ต้องการน้ำมาก และการเจริญเติบโดช้า ต้องใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปีกว่าจะขึ้นเต็มสนาม ถ้าแห้งแล้งนาน ๆ หรือขาดน้ำใบจะเหลืองทันที

เป็นหญ้าที่ทนต่อการเหยีบย่ำพอสมควร และไม่ค่อยยืดหยุ่นตัวเหมือนหญ้านวลน้อย
เป็นหญ้าที่ต้องการปุ๋ยไม่มากนัก ทนต่ออากาศหนาวได้ดี อาจทนได้ถึงประมาณ 10 - 20 องศาฟาเรนไฮด์ ทนต่อโรคหรือแมลงต่าง ๆ ได้มากกว่าหญ้าชนิดอื่น
หญ้าญี่ปุ่นนี้เจริญเติบโตช้า แต่เมื่อขึ้นแล้วจะหนาแน่นมาก ขึ้นคลุมดินวัชพืชไม่สามารถขึ้นแข่งได้ การแต่งไม่บ่อยนัก เพราะเจริญเติบโตช้า ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ ก็จะเป็นกระจุก การตัดแต่งลำบาก

การตัดแต่ง

หญ้าญี่ปุ่นชนิดนี้จำต้องตัดให้สั้นประมาณ 0.5 - 1.0 นิ้ว โดยตัดทุก ๆ 5 - 10 วัน ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานวัน หญ้าจะขึ้นเป็นจุก เมื่อตัดหญ้าจะมีสีเหลืองเป็นหย่อม ๆ มองดูแล้วหน้าเกลียด ไม่สวยงาม ซึ่งเป็นข้อเสียของหญ้าชนิดนี้ เนื่องจากหญ้าญี่ปุ่นมีลำต้นและใบแข็งกระด้างมาก ดังนั้นการใช้เครื่องตัดหญ้า ต้องมีกำลังสูง และมีใบมีด ที่คมมาก ใช้กรรไกรดัตไม่กี่วันก็หมดแรง เพราะมันขึ้นเป็นกระจุกทำให้ตัดยาก ลำต้น และใบก็เหนี่ยวด้วย ซึ่งทำให้กินแรงใน การตัดมาก แม้กระทั่งใช้ เครื่องตัดหญ้า ก็ต้องลับมีดบ่อยครั้ง เพื่อให้คมอยู่เสมอ




การขยายพันธุ์
สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และใช้ส่วนต่าง ๆ ปลูก เช่น ลำต้น เหง้า ไหล แต่นิยมกันมากก็ใช้ส่วนต่าง ๆ โดยปลูกแยกต้นปลูก การปลูกเป็นกระจุก และการปูเป็นแผ่น ๆ ส่วนการปลูกด้วยเมล็ดไม่นิยมเพราะการเจริญเติบโตช้ามาก
ข้อดี เป็นหญ้าที่เล็กมองดูแล้วสวยงามดี เหมาะสำหรับปลูกเป็นสวนหย่อม และพื้นที่ก็ควรไม่กว้างมากนัก และใช้ปลูกในบริเวณ ที่เป็นทางเข้าได้ดี เพราะสามารถป้องกัน และควบคุมไม่ให้บุกรุกบน ทางเท้า ได้ง่ายกว่าหญ้าชนิดอื่น

ข้อจำกัด ใบหญ้าจะแข็งกระด้าง และปลายใบเล็กเรียวแหลม ทิ่มตำระคายผิวหนัง การตัดลำบากและกินแรงมาก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น